วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.1

วัสดุและเครื่องมือช่างพื้นฐาน เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี) นักเรียนชั้น ม.1

วัสดุและเครื่องมือช่างพื้นฐาน

วัสดุและเครื่องมือช่างพื้นฐาน เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี) นักเรียนชั้น ม.1

          วัสดุและเครื่องมือช่างพื้นฐาน เป็นเครื่องมือที่ช่างใช้ในการทำงานนั้น ๆ ซึ่งมีเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย เครื่องมือแต่ละชนิดก็มีหน้าที่ในการทำงาน ๆ นั้น ๆ ดังนั้นการที่เราจะทำงานชิ้น ๆ หนึ่ง และเราเลือกใครเครื่องมือที่ถูกต้อง ก็จะส่งผลให้เราสามารถทำงานนั้นออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.1 เครื่องมือช่าง

ในบทนี้นักเรียนจะได้เรียน  2 หัวข้อใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

  1. วัสดุในชีวิตประจำวัน
  2. เครื่องมือช่างพื้นฐาน

วัสดุในชีวิตประจำวัน

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.1 ไม้

1. ไม้ คือวัสดุธรรมชาติ คุณสมบัติคือต้านทานไฟฟ้า ไม่เกิดสนิม มีรูปร่างคงตัว มีกลิ่น มีลวดลาย ไม้แบ่งออก  2 ประเภทคือ
1.1  ไม้ธรรมชาติหรือไม้จริง
-ไม้เนื้อแข็ง
-ไม้เนื้ออ่อน
1.2 ไม้ประกอบ
– ไม้อัด
– ไม้อัด OSB
– ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.1 โลหะ

2. โลหะ คือ วัสดุที่ได้จากการถลุงสินแร่ต่าง ๆ  คุณสมบัติที่ดีคือเป็นตัวนำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี มีความแข็งแรงสูง เปลี่ยนสภาพง่าย โลหะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
2.1 โลหะกลุ่มเหล็ก
– เหล็กกล้า
– เหล็กหล่อ
2.2 โลหะนอกกลุ่มเหล็ก
– อะลูมิเนียม
– ทองแดง
– สังกะสี
– ทองเหลือง

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.1 พลาสติก

3. พลาสติก คือ วัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์ ส่วนประกอบหลักได้มากจากการกลั่นน้ำมันดิบ คุณสมบัติคือ สามารถขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย พลาติกมีทั้งแบบไม่ทนทานและแบบที่ทนทานมาก ๆ พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
3.1 เทอร์โมพลาสติก (หลอมได้หลายครั้ง ไม่ค่อยแข็งแรง)
3.2 เทอร์โมเซตติ้ง พลาสติก (หลอมได้ครั้งเดียว แข็งแรงทนทานมาก)

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.1 ยาง

4. ยาง คือ วัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง สังเกตได้จากการออกแรงดึงหรือกด คุณสมบัติคือ ยืดหรือยุบและกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อปล่อย ยางแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
4.1 ยางธรรมชาติ คือยางที่ได้จากยางของต้นยาง
4.2 ยางสังเคราะห์ คือยางที่เกิดจากการผสมของสารเคมีต่าง ๆ

อ้างอิง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี)” สำหรับนักเรียนชั้น ม.1, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *