คำสั่งแสดงผลภาษาไพทอน
คำสั่งแสดงผลในโปรแกรมภาษาไพทอน จะใช้คำสั่ง print()
คำสั่ง print ()
คำสั่ง print () เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการแสดงสิ่งที่อยู่ข้างใน ( ) ให้แสดงออกมา
- ในกรณีที่หากต้งการให้แสดง ข้อความ เราจะต้องใส่ ” ” เข้าไปข้างในวงเว็บ และจะมีข้อความอยู่ตรงกลาง เช่น print (“wuttichai”)
- ในกรณีที่ต้องการดึงค่าตัวแปรมาแสดงผล เราไม่จำเป็นต้องใส่ ” ” ข้างในวงเล็บ สามารถใส่ตัวแปรในวงเล็บได้เลย เช่น print (a)
- ตัวเชื่อมตัวแปรต่าง ๆ ให้แสดงผลอยู่ในบรรทัดเดียวกันคือการใส่ ,
ตัวอย่างโค้ดคำสั่ง print
a=20 b=2 c="คำตอบ" print(a) print(b) print(c) print(a,b) print(a,b,c) print("ครูไวฒิชุด",c) print(c,"ครูไวฒิชุด")
เมื่อสั่งรันโปรแกรมจะแสดงดังนี้
20
2
คำตอบ
20 2
20 2 คำตอบ
ครูไวฒิชุด คำตอบ
คำตอบ ครูไวฒิชุด
การคอมเมนต์ในภาษาไพทอน
ทำไมเราต้องคอมเมนต์เหตุผลก็เพราะว่าจะทำให้เรารู้ว่าคำสั่งที่เราเขียนเราเขียนเพื่ออะไร ป้องกันการลืม บางคำสั่งเราไม่ค่อยได้ใช้งาน เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าเราอาจจะลืมหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่เราได้เขียนคำสั่งจากเมื่อก่อน ดังนั้นการเขียนคอมเมนต์เป็นการช่วยในการจำ และที่สำคัญเวลาคนอื่นเข้ามาศึกษาโค้ดเราต้องเขาจะได้ไม่งงกับสิ่งที่เราเขียน ในภาษาไพทอนจะใช้ # เพื่อเขียนคอมเมนต์ ซึ่งจะไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม
ตัวอย่างการเขียนคอมเมนต์
a=20 #ประกาศตัวแปร b=2 #ประกาศตัวแปร c="คำตอบ" #ประกาศตัวแปรที่เป็นชนิดข้อความจะต้องใส่ " " ลงไปด้วย print(a) print(b) print(c) print(a,b) #การแสดงตัวแปรหรือข้อความอื่น ๆ ใน print จะเชื่อมกันด้วย , print(a,b,c) print("ครูไวฒิชุด",c) print(c,"ครูไวฒิชุด")