วิชาวิทยาการคำนวณ ม.3

บทที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องกฏหมายคอมพิวเตอร์

เรื่องกฏหมายคอมพิวเตอร์ เนื้อหาบทที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคำนวณ ม.3

ในอดีตมนุษย์ทำผิดในด้านคอมพิวเตอร์เยอะมาก ๆ ผลที่ตามมาคือเราไม่สามารถที่จะจับผิดใครได้เลย เหตุการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นเรื่อย ๆ มา แต่ก็ยังไม่มีกฏหมายที่มารองรับเพื่อลงโทษผู้ที่ทำผิดได้ สำหรับในประเทศไทยเรามี พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2 ฉบับแล้ว ฉบับแรกเป็นฉบับ พ.ศ.2550 โดยฉบับล่าสุด เป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560

วิทยาการคำนวณ 3

เหตุผลที่ประกาศใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับที่ 2

  • กฎหมายยังไม่คลอบคลุมในบางเรื่อง
  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  • เพิ่มความปลอดภัย

สรุป พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ควรทราบ

– ส่งข้อมูลหรือส่งข้อความต่าง ๆ ไปยังผู้อื่นและทำการปกปิดหรือแก้ไขแหล่งที่มาของข้อมูล เป็นการก่อกวนผู้อื่น —> โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

– การส่งข้อมูลหรือส่งข้อความไปก่อกวนผู้อื่น ทำให้อีกฝ่ายรำคาญ หรือเกิดความเดือดร้อน โดยที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการยกเลิกการส่งข้อมูลหรือข้อความได้โดยง่าย —> โทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

นำข้อมูลไม่เป็นความจริงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดความเสียหาย ทำให้ผู้คนเกิดความตื่นตระหนก —> โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นำข้อมูลหรือรูปภาพที่มีลักษณะลามกอนาจารให้คนอื่น ๆ เข้าถึง —> โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่เขามีมาตรการการป้องกันแต่เราก็ยังแอบเข้าถึงโดยที่เข้าไม่ได้อนุญาตให้เข้า —> โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่เข้ามีมาตรการการป้องกัน และแอบเข้าไปโดยเขาไม่ได้อนุญาต —> โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัดต่อหรือปลอมแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง —> โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท