วิชาวิทยาการคำนวณ ม.1

ตัวแปร การประกาศตัวแปรภาษาไพทอน วิทยาการคำนวณ ม.1

ตัวแปร (variable)  ใช้ในการอ้างอิงค่านั้น ๆ โดยให้เก็บไว้ที่ตัวแปรที่เราได้ตั้งขึ้น จะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย =

หลักการจำง่าย ๆ ในการประกาศตัวแปร

  • หากตัวแปรที่เราประกาศเก็บค่าตัวเลข ให้เราใส่ตัวเลข นั้น ๆ ไปเลย เช่น A = 30 หมายความว่า ตัวแปรชื่อว่า A มีค่าเท่ากับ 30 หรือเก็บค่า 30 ไว้ที่ตัวแปร A
  • หากตัวแปรที่เราประกาศเก็บค่าประเภทข้อความ หรือเราจะเรียกการเก็บค่าพวกนี้ว่าเป็นตัวแปรที่เก็บข้อมูลประเภทสตริง ตัวอย่างเช่น A=”wuttichai” หมายความว่า ตัวแปรชื่อว่า A เก็บข้อมูลประเภทสตริง ที่ชื่อว่า wuttichai สังเกตว่าหากเก็บค่าประเภทสตริงหรือค่าที่เป็นข้อความหรือค่าที่เราอยากให้มันเป็นข้อความให้เราใส่ ‘ ‘ ไปที่หน้าและหลังข้อความนั้น ๆ หรือจะใส่เป็น ” ” แบบนี้ก็ได้ใส่ทั้งหน้าข้อความและหลังข้อความก็ได้เช่นกัน

ตัวอย่างการประกาศตัวแปร

 

A = 30    // ประกาศตัวแปร A เก็บค่าตัวเลข มีค่าเท่ากับ 30
B = 'wuttichai'   // ประกาศตัวแปร B เก็บค่าประเภทสตริง wuttichai
c = "wuttichai"   // ประกาศตัวแปร C เก็บค่าประเภทสตริง wuttichai
D = "30"   // ประกาศตัวแปร D เก็บค่าประเภทสตริง 30 (เป็นการแปลงตัวเลขให้เป็นข้อความ)
print (A)
print (B)
print (C)
print (D)
-----------ผลลัพธ์ที่แสดง--------------
30
wuttichai
wuttichai
30

// หมายถึงการเขียนคอมเมนต์ จะไม่มีผลต่อการแสดงผลในโปรแกรม เขียนไว้เพื่อเป็นการอธิบายหรือการเตือนความจำของผู้เขียนโปรแกรมเอง

คำสงวนที่ห้ามนำมาตั้งเป็นชื่อตัวแปรในภาษาไพทอน

and, as, assert, break, class, continue, def, del, elif, else, except, exec, finally, for, from, global, if, import, in, is, lambda, not, or, pass, print, raise, return, try, while, with, yield

นักเรียนลองฝึกเขียนภาษาไพทอนออนไลน์ได้ที่ LINK

เนื้อหาวิชาวิทยาการคำนวณ ม.1 ทั้งหมด LINK

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *