วิชาวิทยาการคำนวณ ม.1

คำสั่งแสดงผล ในโปรแกรมภาษาไพทอน

คำสั่งแสดงผลภาษาไพทอน จะใช้ print ( )

คำสั่ง print ( ) เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่อยู่ภายใน ( ) ให้แสดงผลออกมาทางจอภาพ

x = 36    // ประกาศตัวแปร x มีค่าเท่ากับ 36
y = 40    // ประกาศตัวแปร y มีค่าเท่ากับ 40
name = "wuttichaiteacher"     // ประกาศตัวแปร name เก็บค่าเป็น wuttichaiteacher หากเก็บค่าข้อความไว้ในตัวแปรเราต้องใส่ " " ด้วยนะครับ
print ("Hello World")       // สั่งปริ้นคำว่า Hello World สังเกตหากเราจะให้แสดงข้อความข้างใน () เราจะต้องใส่ " " ลงไปในวงเล็บด้วย
print (x)      // สั่งปริ้นค่า x ซึ่ง x เป็นตัวแปรที่เก็บค่า 36 เวลาสั่งปริ้นเราจะไม่ใส่ " " ลงไปในวงเล็บด้วย
print (y)      // สั่งปริ้นค่า y ซึ่ง y เป็นตัวแปรที่เก็บค่า 40 เวลาสั่งปริ้นเราจะไม่ใส่ " " ลงไปในวงเล็บด้วย
print (name)   // สั่งปริ้นค่า name ซึ่ง name เป็นตัวแปรที่เก็บคำว่า wuttichaiteacher เวลาสั่งปริ้นเราจะไม่ใส่ " " ลงไปในวงเล็บด้วย
print (x,y,name)  // สั่งปริ้นตัวแปรทั้งหมดพร้อมกันได้โดยใส่ , ผลลัพธ์จะแสดงค่าตัวแปรโดยจะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน
--------ผลลัพธ์ที่แสดง----------
Hello World
36
40
wuttichaiteacher
36 40 wuttichaiteacher

// หมายถึงการเขียนคอมเมนต์ จะไม่มีผลต่อการแสดงผลในโปรแกรม เขียนไว้เพื่อเป็นการอธิบายหรือการเตือนความจำของผู้เขียนโปรแกรมเอง

นักเรียนลองฝึกเขียนภาษาไพทอนออนไลน์ได้ที่ LINK

เนื้อหาวิชาวิทยาการคำนวณ ม.1 ทั้งหมด LINK