วิชาวิทยาการคำนวณ ม.3

เนื้อหาวิทยาการคำวณ ม.3 การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ

เนื้อหาวิทยาการคำวณ ม.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ

1. การรวบรวมข้อมูล

ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียง วิดีโอ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ 

ข้อมูลเป็น 2 ประเภท

  1.  ข้อมูลปฐมภูมิ 
  2.  ข้อมูลทุติยภูมิ

ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่นหากนักเรียนต้องการข้อมูลของชาวประมง นักเรียนจะต้องลงพื้นที่ไปยังพื้นที่ที่ชาวประมงอยู่และก็ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจจะใช้วิธีการทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือวิธีอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่นักเรียนต้องการ “ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด”

การรรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ สามารถทำได้ดังนี้

  • การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล
  • การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
  • การใช้แบบสอบถาม
  • การสังเกต

ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้แล้วโดยผู้อื่น เช่นหากนักเรียนต้องการข้อมูลของชาวประมง แต่นักเรียนไม่สามารถไปยังพื้นที่ ๆ ชาวประมงอาศัยอยู่ได้ นักเรียนก็อาจจะใช้วิธีอื่นในการค้นหาข้อมูลเช่น หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต จากห้องสมุด  “การนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้ต้องตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลก่อนว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร” เพื่อจะได้นำไปใช้อ้างอิงได้อย่างมั่นใจ

ข้อดีข้อมูลทุติยภูมิ

ไม่ต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล ประหยัดงบประมาณ

ข้อเสียข้อมูลทุติยภูมิ

ข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้วอาจไม่ตรงตามเป้าหมายที่เราต้องการ

การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  1.  ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลที่เกิดภายในหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆของผู้ใช้งาน 
  2.  ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก เป็นข้อมูลที่เกิดจากภายนอกองค์กร หรือนอกหน่วยงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *