ประวัติของอินเทอร์เน็ตและการให้บริการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประวัติของอินเทอร์เน็ตและการให้บริการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประวัติของอินเทอร์เน็ต

          อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง “เครือข่าย”คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้หลากหลาย รูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และเสียง เป็นต้น
อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นในยุคสงครามเย็น (ปี ค.ศ.1969) โดยหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งได้ ให้การสนับสนุนงานวิจัยแก่หน่วยงาน ต่าง ๆ เพื่อทำการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในช่วงแรกนั้นรู้จักกันในนามของ “อาร์พาเน็ต (ARPANET)” ซึ่งเริ่มจาก การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่งได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส 2) มหาวิทยาลัยยูทาห์ 3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และ 4) สถาบัน วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายที่ทำการวิจัยนี้จะมีอยู่หลากหลายชนิด รวมทั้งใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันอีกด้วย
เครือข่ายอาร์พาเน็ตมีจุดมุ่งหมายหลักให้คอมพิวเตอร์จากหน่วยหนึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอีกหน่วยหนึ่งโดย ข้อมูลที่ส่งระหว่างกันสามารถที่จะมีเส้นทางออกไปยังปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้น ทาง ระบบเครือข่ายยังคงจะต้องสามารถทำงานได้อยู่ถึงแม้ว่าจะมีคอมพิวเตอร์บางหน่วยถูกทำลายไป เช่น ในกรณีถูกโจมตีจากฝ่ายข้าศึกตรงกันข้าม ภายหลังได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต จึงได้มีการนำเอาเครือข่ายของตนเองที่มีอยู่มา เชื่อมต่อเข้า กับระบบเครือข่ายอาร์พาเน็ต ทำให้เครือข่ายขยายขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกขนานนามว่า “อินเตอร์เน็ต (Internet)” และใช้นามนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ทุกวันนี้ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถที่จะเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง โดยทางกายภาพแล้วเครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของทรัพยากรที่ถูกใช้สำหรับการ ส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นจะต้องใช้มาตรฐานของ รูปแบบในการสื่อสารหรือโปรโตคอล (Protocol) คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาและประยุกต์ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้เป็นระบบเครือข่ายในลักษณะของเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) และเครือข่ายเอ็กทราเน็ต (Extranet) ซึ่งจะมีโปรโตคอลหลักเป็น TCP/IP เช่นเดียวกัน
บริการบนอินเทอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต

บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มีการพัฒนาและ ปรับปรุงอยู่เสมอ โดยมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อสนองแก่ความต้องการของผู้ใช้อยู่มากมาย
สำหรับบริการหลัก ๆ ที่มีให้บริการอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่

  1. บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Mail หรือ E-Mail)การใช้บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะมีลักษณะรูปแบบเช่นเดียวกับการส่ง จดหมายทางไปรษณีย์ เพียงแต่จะเปลี่ยนเป็นการส่งจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของผู้รับผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเราสามารถส่งเอกสารจดหมายที่อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ รูปภาพกราฟิก วิดีโอ โปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ ได้ โดยจะดำเนินการจัดส่งไปยังผู้รับภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น จะเห็นได้ว่าการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการส่งจดหมายธรรมดาหรือ EMS เป็นอย่างมาก ทำให้บริการนี้กลายเป็นบริการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะในการติดต่อทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน
  2. บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol)บริการนี้เป็นการรับ/ส่ง (Download/Upload) ข้อมูล โปรแกรม หรือเอกสารที่อยู่ใน รูปแบบดิจิตอลจากคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ มีองค์กรหลาย ๆ แห่งได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ ภายนอกสามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลได้โดยไม่คิดมูลค่า บางบริษัทได้เปิดให้ผู้ใช้ Download โปรแกรมต่าง ๆ มาทดลองใช้ฟรี และหากผู้ใช้ประสงค์จะใช้งานโปรแกรม ดังกล่าวอย่างเป็นทางการก็สามารถ ลงทะเบียนสั่งซื้อได้ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  3.  บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Login, Telnet)ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะตั้งอยู่ใกล้หรือไกลได้ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นโดยตรง สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวผู้ใช้งานผู้นั้นจะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ควบคุมเครื่องนั้น ๆ ด้วยโดย ผู้ใช้จะต้องมีชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่กำหนดให้ไว้สำหรับเข้าไปใช้งานด้วย มีศูนย์บริการหลายแห่งที่ได้เปิดเครื่องที่ให้บริการนี้สาธารณะโดยอนุญาตให้เข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีชื่อบัญชีผู้ใช้อย่างเป็นทางการ
  4. บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น (Usenet News)ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากทั่วโลก มีบุคคลหลากหลายประเภท ต่างก็มีความสนใจที่แตกต่างกันออกไป จึงได้มีบริการเพื่อจัดแบ่งกลุ่มผู้ใช้ที่มีความสนใจร่วมกันเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ และแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกกระจายออกจากเครือข่ายหนึ่งไปยังเครือข่ายอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ผู้ใช้บริการจึงสามารถรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดแยกเป็นหัวข้อ เรียกว่า กลุ่มข่าว (News Groups) ซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มข่าวและกลุ่มข่าวย่อย ๆ มากมายนับพันหัวข้อและครอบคลุมศาสตร์ทุกแขนง ไม่ว่าเป็นหัวข้อด้านวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ กีฬา วัฒนธรรม เป็นต้น
  5.  บริการติดต่อสนทนาออนไลน์ (Chat)   นอกจากการติดต่อถึงกันในลักษณะจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้ว บริการที่ได้รับความนิยมอีกอย่างคือการสนทนาในรูปแบบของการตอบสนองอย่างทันที (Interactive) ผู้ใช้สามารถที่จะคุยโต้ตอบกันได้เสมือนกับได้มาสนทนากันในระยะใกล้ๆ โดยในปัจจุบันบริการนี้สามารถสนทนาโดยใช้ทั้ง ข้อความตัวอักษรภาพและเสียงได้ในขณะเดียวกัน
  6.  บริการค้นหาข้อมูลและแสดงข้อมูลในลักษณะของ Gopher, Archie และ WAISเป็นกลุ่มโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการในอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Gopher จะเป็นบริการการค้นหาในลักษณะเป็นเมนูลำดับขั้น ส่วน Archie เป็นการค้นหาที่เก็บข้อมูล ว่าอยู่ที่ใด และ WAIS เป็นการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บเอาไว้ ปัจจุบันข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีให้ของบริการ เหล่านี้ได้ถูกพัฒนามาให้บริการในลักษณะของเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) แล้ว บริการเหล่านี้จึงได้รับความนิยมจากผู้ใช้ลดน้อยลง
  7.  บริการค้นหาและแสดงข้อมูลผ่านเครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)เครือข่ายใยแมงมุม หรือ World Wide Web เป็นบริการที่ดำเนินการอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน เพราะบริการนี้จะใช้ตัวหนังสือและรูปภาพกราฟิกเข้ามามีส่วนช่วยในการ ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ สามารถใช้บริการนี้เพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ โดยปัจจุบันข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) คือ มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางเครือข่ายใยแมงมุมนี้ได้ ไม่ว่าเป็นบทความ ข่าว งานวิจัยข้อมูลสินค้า หรือบริการต่างๆ สาระบันเทิงประเภทต่าง ๆ แม้กระทั่งฟังบทเพลงหรือดูภาพยนตร์ก็ได้ ปัจจุบันบริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มของการเจริญเติบโตของบริการนี้และได้พยายามหันเข้ามาทำธุรกิจบนเครือข่ายใยแมงมุมนี้ โดยทำการประชาสัมพันธ์กิจการ โฆษณาสินค้าและดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าผ่านทางเครือข่ายใยแมงมุมนี้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง ระบบหมายเลขไอพี (IP Address)

เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะสามารถติดต่อถึงกันได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางจะระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อด้วย ซึ่งที่อยู่ ของเครื่องคอมพิวเตอร์นี้จะถูกกำหนดใช้มาตรฐานที่เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นข้อมูลตัวเลขขนาด 32 บิต อันประกอบด้วยตัวเลขจำนวนเต็ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 บิต โดยใน แต่ละกลุ่มจะสามารถแทนค่าเป็นจำนวนเต็มที่อยู่ในช่วง 0-255 (28-1) ได้ และใช้จุดเป็นตัวแบ่งกลุ่ม เช่น
161.200.93.1
202.44.135.9
หมายเลขไอพีหนึ่ง ๆ จะแสดงถึงข้อมูลด้านเครือข่ายอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นส่วนแสดงหมายเลข เครือข่าย (Network Address) ส่วนที่สองเป็นส่วนแสดงหมายเลขคอมพิวเตอร์ (Host Address) ที่อยู่ในเครือข่ายหมายเลขนั้น การจัดแบ่งหมายเลขไอพีสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 คลาส (Class) คือ A, B, C, D และ E แต่โดยทั่วไปนั้นจะใช้งานหลักอยู่เพียง 3 คลาส ได้แก่ คลาส A, B และ C
เนื่องจากจำนวนคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ทำการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอีกในไม่ช้านี้ระบบหมายเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งเป็นข้อมูลตัวเลขขนาด 32 บิตจะไม่ เพียงพอที่จะกำหนดให้แก่คอมพิวเตอร์ได้ทั่วโลก ดังนั้นจึงได้มีการเตรียมคิดค้นระบบหมายเลข ไอพีแบบใหม่โดยขยายขนาดเป็นข้อมูลตัวเลขขนาด 128 บิต ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Internet Protocol Version 6 หรือเรียกโดยย่อว่า IPv6
ในการที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องถูกกำหนดให้มีหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันเลยนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ด้วยกันจะสามารถที่จะใช้อ้างอิงเพื่อติดต่อถึงกันได้ แต่สำหรับผู้ใช้งานเครือข่ายนั้นคงจะเกิดความยุ่งยากและสับสนเป็นอย่างมากในการที่จะต้องจดจำหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่ต้องการ ติดต่อด้วยจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานจึงเกิดแนวคิดในการสร้างระบบ “ชื่อโดเมน (Domain Name)” เพื่อใช้อ้างอิงในระดับผู้ใช้งานแทนระบบหมายเลขไอพีซึ่งก็จะคงถูกใช้อ้างอิงในระดับ คอมพิวเตอร์ขึ้นมา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *