วิชาการเขียนโปรแกรม Kidbright

“ระบบฝังตัว” หรือ “สมองกลฝังตัว” (Embedded system)

ระบบฝังตัว” หรือ “สมองกลฝังตัว” (Embedded system)

คือระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ (cpu) เป็นเหมือนสมองมนุษย์ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้น โดยจะทำงานตามคำสั่ง คือ โปรแกรม หรืออัลกอริทึมที่เขียนลงไว้ในชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์นั้น
เช่นเวลาที่เราเขียนโปรแกรมเสร็จแล้วเราจะอัพข้อมูลที่เราเขียนลงไปในสมองกลตัวนี้ สมองกลตัวนี้ก็จะสั่งให้อุปกรณ์อื่น ๆ ทำงาน จะเห็นได้ว่าสมองกลฝังตัวเป็นเหมือนสมองคนเราเลยที่จะสั่งให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานตามที่สมองเราสั่ง
wuttichai

 

sensor คืออุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณหรืองปริมาณทางฟิสิกส์ต่างๆ

เช่น อุณหภูมิ เสียง แสง การสัมผัส เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำระบบ sensor มาใช้บนโทรศัพท์มือถือ ในหลายรูปแบบ เช่น G-sensor ระบบตรวจจับความเลื่อนไหว , Accelerometer Sensor ระบบหมุนภาพ อัตโนมัติ, Orientation Sensor เซ็นเซอร์ปรับมุมมองหน้าจอ, Sound Sensor เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับเสียง,  Magnetic Sensor ตรวจวัดความเข้มสนามแม่เหล็ก, Light Sensor ตรวจจับแสงสว่างสำหรับการปรับแสงบนหน้าจออัตโนมัติ และ Proximity Sensor ระบบเปิด/ปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนาแนบหู เป็นต้น ซึ่งเรามักพบคุณสมบัติเหล่านี้ได้กับโทรศัพท์มือถือ แบบ smartphone ทั้งในระบบ iOs และ Android OS