วิชาวิทยาการคำนวณ ม.2

เขียนโปรแกรมตามโครงสร้างการทำงานแบบเรียงลำดับ

โครงสร้างของการเขียนโปรแกรมตามการทำงาน แบ่งได้เป็น

  1. การทำงานแบบเรียงลำดับ
  2. การทำงานแบบทางเลือก
  3. การทำงานแบบวนรอบ (ลูป)

การทำงานแบบเรียงลำดับ หมายถึงลักษณะของการทำงานของโปรแกรมที่มีการทำงานจากคำสั่งที่อยู่ด้านบนและจะทำลงมาด้านล่างตามลำดับ (พูดง่าย ๆ ทำจากข้างลบลงมาข้างล่าง) 

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเรียงลำดับ การคำนวณหาพื้นที่รูป 3 เหลี่ยม

ผังงานกับรหัสจำลอง

การป้อนข้อมูลประเภทตัวเลข ผ่านทางคีย์บอร์ด ซึ่งค่าที่เราป้อนเข้าไปจะเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม เราสามารถนำค่านั้น ๆ ไปคำนวณโดยใช่ร่วมกับตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้

รูปแบบคำสั่ง จะใช้ int (input(“ข้อความ”))

ตัวอย่างคำสั่ง เช่น

 

A = int (input("ป้อนความสูง"))   // ป้อนค่าความสูงผ่านทางคีย์บอร์ดแล้วนำค่าไปเก็บไว้ที่ตัวแปร A
B = int (input("ป้อนความยาวฐาน"))  // ป้อนค่าความยาวฐานผ่านทางคีย์บอร์ดแล้วนำค่าไปเก็บไว้ที่ตัวแปร B
C = 1/2*A*B   // คำนวนโดยใช้สูตรการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม นำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ที่ตัวแปร C
print ("พื้นที่รูปสามเหลี่ยมที่ได้คือ",C)  // ปริ้นค่าที่ได้
----ผลลัพธ์ที่ได้----
ป้อนความสูง_
ป้อนความยาวฐาน_
พื้นที่รูปสามเหลี่ยมที่ได้คือ

// หมายถึงการเขียนคอมเมนต์ จะไม่มีผลต่อการแสดงผลในโปรแกรม เขียนไว้เพื่อเป็นการอธิบายหรือการเตือนความจำของผู้เขียนโปรแกรมเอง