บทความดีมีประโยชน์ประชาสัมพันธ์

7 วิธีการเตรียมตัวก่อนสอนออนไลน์

การจัดการเรียนการสอนในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาแบบก้าวกระโดด เทคโนโลยีรอบ ๆ ตัว พัฒนาไปไกลมาก ๆ ซึ่งหลาย ๆ เทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อให้กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเกิดขึ้นได้ในรูปแบบที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่คนละสถานที่กัน จะทำอย่างไรให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เว็บไซต์ wuttichaiteacher มี “7 วิธีการเตรียมตัวก่อนสอนออนไลน์” ดังรายละเอียดด้านล่างนี้

  1. ประชุมครูภายในโรงเรียน
    เปิดประเด็นมาโดยการให้ครูผู้สอนทั้งโรงเรียนได้ประชุมกันในการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคลว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการเข้าเรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยการสอบถามประเด็นที่สำคัญในเรื่องเกี่ยวกับ
    – สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค (มีอย่างใดอย่างหนึ่งก็เพียงพอแล้ว)
    – สัญญานอินเทอร์เน็ต (ความเร็วอินเทอร์เน็ตและการใช้งานแบบไม่จำกัดดาต้า)
    นำข้อมูลของนักเรียนรายบุคคลมารวมกันทั้งโรงเรียน สำหรับนักเรียนที่ขาดอุปกรณ์ในการเข้าถึงห้องเรียนออนไลน์ ทางโรงเรียนมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร หากโรงเรียนมีความพร้อม ประเด็นในข้อหนึ่งถือว่าผ่าน สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างแน่นอนแต่หากว่าโรงเรียนไม่สามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้หรือแก้ได้ไม่ครบหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้แน่นอน การจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้นเกิดจากการสื่อสารแบบสองทิศทางพร้อมกัน การที่จะนำวิธีอื่นมาแทนการสอนแบบออนไลน์ย่อมมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอย่างแน่นอน
    วิธีการเตรียมตัววก่อนสอนออนไลน์
  2. ตรวจสอบความพร้อมด้านอุปกรณ์ของครู
    ในหัวข้อที่สองจะเป็นการสำรวจความพร้อมของครูผู้สอนว่ามีความพร้อมด้านอุปกรณ์หรือไม่ หรือโรงเรียนพอที่จะมีอุปกรณ์ให้ครูผู้สอนได้ใช้งานไหม ประเด็นที่ครูผู้สอนจะต้องสำรวจตัวท่านเองคือ
    – สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค (มีอย่างใดอย่างหนึ่งก็เพียงพอแล้วแต่จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่เป็นรุ่นที่ไม่เก่ามากนัก) ในส่วนนี้ให้เช็คกล้อง ลำโพง ไมโครโฟน ถ้าจะให้ดีทางโรงเรียนจะต้องหาอุปกรณ์เสริมมาต่อแยกเพื่อให้ผู้เรียนสามารถได้ยินทั้งเสียงและภาพที่ชัดในเวลาที่ผู้สอนเขียนข้อความลงไป ฯลฯ
    – สัญญานอินเทอร์เน็ต (ความเร็วอินเทอร์เน็ตและการใช้งานแบบไม่จำกัดดาต้า)
    วิธีการเตรียมตัววก่อนสอนออนไลน์
  3. เลือกใช้โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
    โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีเยอะมาก ผมขอแนะนำให้ครูผู้สอนได้ตกลงกันว่าจะเลือกใช้โปรแกรมอะไร แนะนำว่าให้ใช้โปรแกรมเดียวกันทั้งโรงเรียน เพราะว่าเวลาโปรแกรมหรือการใช้งานขัดข้องจะได้ง่ายในการให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันคือ
    – microsoft team
    – zoom
    – Google Hangouts Meet
    – อื่น ๆ
    วิธีการเตรียมตัววก่อนสอนออนไลน์
  4.  ศึกษาวิธีการใช้งานโปรแกรม
    ซึ่งในหัวข้อนี้เป็นผลมาจากการที่ครูผู้สอนได้ตกลงกันในหัวข้อที่ 3 ครูผู้สอนต้องเข้าไปศึกษาการใช้งานโปรแกรมอย่างละเอียด ซึ่งการสอนใช้งานโปรแกรมใน youtube มีสอนเยอะมากและค่อนข้างที่จะละเอียด
    วิธีการเตรียมตัววก่อนสอนออนไลน์
  5. ครูผู้สอนจะวัดและประเมินผลอย่างไร
    หัวข้อนี้ผมยกให้เป็นหัวข้อที่สำคัญมาก ๆ เนื่องจาการวัดและประเมินผลผู้เรียน ครูผู้สอนจะใช้วิธีการใด และจะหาแนวทางใดในการแก้ปัญหาผู้เรียนคัดลอกงานของสมาชิกในห้องเรียนมาส่ง หากหาวิธีการแก้ปัญหาไม่ได้ย่อมเกิดผลเสียต่อตัวผู้เรียนอย่างแน่นอน
    วิธีการเตรียมตัววก่อนสอนออนไลน์
  6. ครูผู้สอนต้องพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี
    ในการใช้งานโปรแกรมจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้น ไม่ได้เพียงแค่เปิดประชุมกันแค่อย่างเดียว แต่ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ในด้านการสร้าง form(แบบทดสอบออนไลน์), สร้างสื่อการสอนและอื่น ๆ จากที่ผมได้กล่าวไปในหัวข้อนี้เป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ที่ครูผู้สอนจะต้องพัฒนาตัวเอง
    วิธีการเตรียมตัววก่อนสอนออนไลน์
  7. การเปิดใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง
    วิธีการสอนแบบออนไลน์หากนำมาใช้ในปีนี้จริง ๆ ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เพราะหลาย ๆ อย่างดูไม่พร้อมไปซะเลย แต่ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายทั้งครูผู้สอนและผู้เรียน ยังไงการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ในอนาคตยังไงก็จะเกิดขึ้นอยู่แล้วและเป็นรูปธรรมมาก ๆ ดังนั้นการเปิดใจและยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและหันมาพัฒนาตนเองย่อมเป็นสิ่งที่ดี

    จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทั้ง 7 ข้อ ที่เป็นแนวทางในการนำมาเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวก่อนการสอนออนไลน์ ซึ่งเขียนจากประสบการณ์การเป็นครูสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ซึ่งค่อนข้างเข้าใจความแตกต่างระหว่างผู้เรียนในการใช้งานอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ ทางเว็บไซต์ wuttichaiteacher ขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาอ่านบทความ “ขอบคุณครับ”