การควบคุมหุ่นยนต์ IPST เดินหน้าและถอยหลัง
ในการเขียนคำสั่งในการควบคุมหุ่นยนต์ในการเดินหน้าและถอยหลัง เราสามารถเขียนรูปแบบได้หลากหลายรูปแบบ สำหรับวันนี้เราจะมาเขียนคำสั่งในการเดินหน้าและถอยหลังในรูปแบบง่าย ๆ กันนะครับ
คำสั่งที่นักเรียนต้องจำให้ได้
- motor(1,50) ;
“เลข 1 หมายความว่า เป็นมอเตอร์ตัวที่ 1 ขับด้วยกำลังไฟ 50 ค่ากำลังไฟยิ่งมีค่ามาก มอเตอร์ก็จะทำงานเร็วมาก ขับได้สูงสุดที่ค่า 100”
- motor(2,-50) ;
“เลข 2 หมายความว่า เป็นมอเตอร์ตัวที่ 2 ขับด้วยกำลังไฟ 50 แต่มี – อยู่ข้างหน้านั้นหมายความว่ามอเตอร์จะหมุนกลับทิศ ค่ากำลังไฟยิ่งมีค่าติดลบมาก มอเตอร์ก็จะทำงานเร็วมาก ขับได้สูงสุดที่ค่า -100”
- delay(1000) ;
“หมายความว่าขับมอเตอร์นาน 1 วินาที ข้อควรจำคือ 1000 จะเท่ากับ 1 วินาที”
- motor_stop(ALL) ;
“หมายความว่าสั่งให้มอเตอร์ทั้ง 2 ข้างหยุดทำงานพร้อมกัน” เราสามารถสั่งให้มันหยุดข้างใดก็ข้างหนึ่งก็ได้นะครับ ตัวอย่างเช่น
– motor_stop(1) ; หมายความว่าสั่งให้มอเตอร์ตัวที่ 1 หยุดการทำงาน
– motor_stop(2) ; หมายความว่าสั่งให้มอเตอร์ตัวที่ 2 หยุดการทำงาน
ตัวอย่างโค้ดการขับมอเตอร์เดินหน้าและถอยหลัง
#include <ipst.h> void setup() { setTextSize(3); glcd (0,0,"ok"); // จอ lcd ให้แสดงข้อความว่า ok } void loop() { if (sw_OK()) // ถ้ากดปุ่ม ok คำสั่งจะทำงาน { motor(1,50); // ขับมอเตอร์ข้างที่ 1 ด้วยกำลังไฟ 50 (มากสุดคือ 100) motor(2,50); // ขับมอเตอร์ข้างที่ 2 ด้วยกำลังไฟ 50 (มากสุดคือ 100) delay(5000); // เวลา 1000 เท่ากับ 1 วินาที (มอเตอร์ทำงาน 5 วินาที) motor(1,-50); // ขับมอเตอร์ถอยหลังข้างที่ 1 ด้วยกำลังไฟ -50 (มากสุดคือ -100) motor(2,-50); // ขับมอเตอร์ถอยหลังข้างที่ 2 ด้วยกำลังไฟ -50 (มากสุดคือ -100) delay(5000); // เวลา 1000 เท่ากับ 1 วินาที (มอเตอร์ทำงาน 5 วินาที) motor_stop(ALL); // สั่งให้มอเตอร์ทั้งสองหยุดทำงานพร้อมกัน } }
กดย้อนกลับเพื่อเข้าไปยังหน้าหลักของวิชาการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ IPST –>click