วิชาการสร้างงานบนเครือข่าย

โดเมนเนมกับโฮสติ้ง

โดเมนเนมกับโฮสติ้ง

โดเมนเนม คือ ชื่อเว็บไซต์  เช่น wuttichaiteacher.online แต่ก่อนจะมีโดเมนจะใช้เลขไอพี ซึ่งมันจะจำยากมมาก ๆ เขาก็เลยแปลงจากเลขไอพีให้เป็นชื่อที่เรียกว่าโดเมนเนม ตัวอย่างเช่น เวลาเราจะเข้า google เราจะพิมพ์ว่า www.google.com สิ่งนี้ก็คือโดเมนเนมนั่นเอง โดยโดเมนเนม จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน นับจากหลังมาหน้า จากตัวอย่างก็คือ
.com เราเรียกว่า top-level domain เปรียบเสมือน นามสกุลของเว็บไซต์เราเลยทีเดียว
google เราเรียกว่า ชื่อโดเมน เป็นชื่อเฉพาะของโดเมนเรา มักจะเป็นชื่อบริษัท องค์กร หรือร้านค้าของเรา
www เราเรียกว่า subdomain เป็นชื่อของแฟ้มย่อยในโดเมนของเรา ซึ่ง www ก็คือ เว็บไซต์นั่นเอง จริงๆแล้วส่วนนี้ไม่ต้องใช้ก็ได้ ถ้าเราไม่มีแฟ้มย่อยหรือมีแค่ เว็บไซต์อย่างเดียว เวลาเราจดโดเมน เราจะใช้แค่ ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 เท่านั้นนะครับ ยกตัวอย่างเช่น google.com , amazon.com เป็นต้น

Top-Level Domain คืออะไร แล้วมีอะไรกันบ้าง Top-Level Domain ตัวย่อก็คือ TLD ใช้สำหรับการจัดกลุ่มเว็บไซต์ ยกตัวอย่างนะครับ
.com หมายถึง บริษัท หรือ องค์กร
.net หมายถึง ผู้ให้บริการเครือข่าย
.org หมายถึง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
นอกจากนั้น ยังมี TLD อื่น ๆ อีกมากมายในโลกนี้ มีหลายร้อยครับ เช่น .websites .solutions แม้แต่ .ninja ก็ยังมี แต่กลุ่ม .com .net .org นี้ เราเรียกว่า generic top level domain ซึ่งจะใช้ทั่วไปกันครับ
และ TLD ยังมีระดับประเทศด้วยนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทย ก็จะลงท้ายด้วย .th ดังนี้ครับ
.co.th หมายถึง บริษัท หรือ องค์กร ในประเทศไทย
.net.th หมายถึง ผู้ให้บริการเครือข่าย ในประเทศไทย
.or.th หมายถึง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในประเทศไทย
.ac.th หมายถึง องค์กรการศึกษา ในประเทศไทย
.go.th หมายถึง องค์กรภาครัฐ ในประเทศไทย

โฮสติ้ง

โฮสติ้ง คือ พื้นที่ฝากไฟล์เว็บไซต์  ไฟล์ทั้งหมดที่ใช้ในเว็บไซต์นี้ขึ้นมาจะต้องไปหาที่ฝากไฟล์หรือ hosting เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการ hosting มากมายหลายเจ้า ซึ่งแต่ละเจ้าก็ให้บริการในรูปแบบ และราคาที่ต่างกัน รวมไปถึงสถานที่ตั้งของ hosting ด้วยโดยเครื่อง hosting จะเปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้คุณ ลูกค้าของคุณ และใครก็ได้สามารถเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา