กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี) นักเรียนชั้น ม.1
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี) นักเรียนชั้น ม.1
การแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน มีจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดจบอย่างชัดเจน เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างมีขั้นตอน
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มี 6 ขั้นตอน
- ระบุปัญหา (Problem Identification)
- รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search)
- ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design)
- วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)
- ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement)
- นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation)
1. ระบุปัญหา (Problem Identification) เป็นส่วนของการที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับปัญหา เพื่อที่จะได้ข้อมูล มาใช้เพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหาเพื่อที่จะนำไปสู่การหาแนวทางในการแก้ปัญหา
2. รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการทางต่าง ๆ และสรุปเป็นแนวคิดที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา
ในการรวบรวมข้อมูลทำได้หลายวิธี เช่น
– การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
– สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ
– การลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วยตนเอง
– วิธีการอื่น ๆ
3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design) เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงทรัพยากร ข้อจำกัดและเงื่อนไขตามสถานการณ์ที่กำหนด
4. วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development) เป็นการกำหนดลำดับขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานหรือวิธีการ แล้วลงมือสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
5. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement) เป็นการทดสอบและประเมินการใช้งานของชิ้นงานหรือวิธีการ โดยผลที่ได้อาจนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด
6. นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation) เป็นการนำเสนอแนวคิดและขั้นตอนการแก้ปัญหาของการสร้างชิ้นงานหรือการพัฒนาวิธีการ ให้ผู้อื่นเข้าใจและได้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป
อ้างอิง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี)” สำหรับนักเรียนชั้น ม.1, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย