วุฒิชัย แม้นรัมย์

เนื้อหาวิทยาการคำวณ ม.3 การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ

เนื้อหาวิทยาการคำวณ ม.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ

2. การประมวลผลข้อมูล

การประมวลผลข้อมูลหมายถึง การนำข้อมูลมากระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลมาจัดเรียงลำดับ การนำข้อมูลมาสรุป การนำมาคำนวณ หรือกระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยการประมวลผลข้อมูลแบ่งตามอุปกรณ์สามารถทำได้ 3 ประเภท คือ

  1. การประมวลผลด้วยมือ เป็นวิธีการในยุคแรก ซึ่งใช้ลูกคิดในการคำนวณ การใช้เครื่องคิดเลข การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับข้อมูลที่ไม่มากและไม่ต้องการความละเอียดมากมาย
  2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล เช่น การคำนวณด้านบัญชีโดยการอาศัยเครื่องทำบัญชี เป็นการประมวลผลที่มีความถูกต้องมากกว่าการประมวลผลด้วยมือ 
  3. การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการที่นิยมใช้มากสุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีความถูกต้องและรวดเร็วมาก มีความละเอียดสูง เหมาะกับข้อมูลเยอะ ๆ  

ลำดับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การนำข้อมูลเข้า (input) เช่นการป้อนข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์ การรับข้อมูลจากไมโครโฟน
  2. การประมวลผล (process) เป็นขั้นตอนในการประมวลผล เช่น การคำนวณ การจัดเรียง หรือการกระทำต่าง ๆ
  3. การแสดงผล (output) โดยอาจจะแสดงผลออกทางหน้าจอ หรือเสียงลำโพง หรือแม้แต่ทางเครื่องพิมพ์

วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 วิธี

1. การประมวลผลแบบแบตช์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยการรวบรวมข้อมูลเอาไว้ก่อนจนกว่าจะได้ข้อมูลที่มากพอ หรือตามกำหนดเวลา จากนั้นจึงนำมาประมวลผล

ข้อดี

  1. เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลมากๆ
  2. ง่ายต่อการตรวจสอบ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด

ข้อเสีย

  1. ข้อมูลที่ได้ไม่มีความทันสมัย
  2. ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล

2. การประมวลผลแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive Processing) เป็นการประมวลผลที่พอได้ข้อมูลมามันจะประมวลผลโดยทันที โดยคอมพิวเตอร์จะประมวลผลทันทีที่มีการนำข้อมูลเข้า โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. การประมวลผลแบบออนไลน์ เช่น ATM
  2. การประมวลผลแบบทันที

ข้อดี

  1. ตรวจสอบความถูกต้องได้ทันที
  2. ข้อมูลมีความทันสมัย

ข้อเสีย

  1. มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้
  2. แก้ไขข้อผิดพลาดได้ยากกว่าการประมวลผลแบบแบตช์